วันที่ 28-07-2014 | อ่าน : 10439
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้
การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ เป็นการตรวจเพื่อทำการค้นหามะเร็งตั้งแต่ระยะแรกๆ ในการตรวจบางครั้งจะพบความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งโดยที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็ง เช่น พบว่ามีติ่งที่อยู่ในลำไส้ที่โตผิดปกติ adenomatous polyps ซึ่งจะสามารถตัดออกไปก่อนตั้งแต่ยังไม่กลายเป็นมะเร็ง
โดยในผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี ทุกคนควรจะได้รับการตรวจโดยการคัดกรองมะเร็งลำไส้ แต่ถ้าหากมีความเสี่ยงสูง เช่นมีประวัติโรคมะเร็งลำไส้ในครอบครัว ก็อาจจะต้องทำการตรวจก่อนอายุ 50 ปี การตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ในปัจจุบันมีหลายวิธีที่ได้รับการยอมรับและแนะนำในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ดังนี้
1. การตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาเลือดที่ออกผิดปกติปริมาณน้อยๆ ในบางครั้งรอยโรคระยะเริ่มแรกของมะเร็งลำไส้ ก่อตัวขึ้นจากติ่งเนื้อที่เรียกว่า polyp ซึ่งบ่อยครั้ง polyp เหล่านี้มีเลือดซึมออกปริมาณเล็กน้อยทำให้สามารถตรวจพบได้ในอุจจาระ
2. การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย มะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ซึ่งการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เรียกว่า sigmoidoscope สามารถแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อลำไส้บริเวณดังกล่าวตั้งแต่ระยะเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ ขณะส่องกล้องหากพบความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ (polyp) ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจได้ทันที
3. การส่องกล้องตลอดลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า colonoscope เป็นการส่องกล้องที่สามารถเห็นลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด ขณะส่องกล้องหากพบการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ (polyp) ก็สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจได้ทันทีเช่นกัน
4. การสวนลำไส้ด้วยแป้งทึบรังสี ที่เรียกว่า การสวนแป้งแบเรี่ยม (barium enema) ร่วมกับการสวนลม เพื่อให้สามารถมองเห็นพื้นผิวของลำไส้ได้จากการถ่ายภาพรังสีเอ๊กซเรย์ เป็นการตรวจหารอยโรคผิดปกติที่เนื้อเยื่อบุผิวลำไส้ เช่น ติ่งเนื้อ (polyp) ที่ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้