วันที่ 18-07-2014 | อ่าน : 14569
การตรวจ MRI
เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging : MRI) เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่คิดค้นขึ้นเพื่อนำมาใช้วินิจฉัยและติดตามผลการรักษาได้ชัดเจนดียิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ด้วยการส่งคลื่นวิทยุเข้าสู่อวัยวะเป้าหมาย และรับคลื่นสะท้อนกลับแล้วนำสัญญาณที่ได้มาประมวลผลและสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพเสมือนจริงในหลายๆ ระนาบ จึงทำให้แพทย์สามารถมองหาสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายได้อย่างละเอียด ดังนั้นการตรวจด้วยเครื่อง MRI จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากไม่มีผลข้างเคียงทางด้านรังสี
เวลาในการตรวจโดยทั่วไปประมาณ 30 นาที – 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่จะตรวจและโรคที่สงสัยและในระหว่างการตรวจจะมีเสียงดังเป็นระยะๆ จากการทำงานของเครื่อง
การตรวจ MRI สามารถใช้ตรวจได้ในเกือบทุกอวัยวะ ได้แก่
- อวัยวะภายในกะโหลกศีรษะ เช่น สมอง ต่อมใต้สมอง ตา หูชั้นใน
- หลอดเลือดโลหิตในสมอง และหลอดโลหิตภายในลำตัว
- ระบบกระดูกสันหลังและไขสันหลัง
- บริเวณทรวงอก ช่องท้อง เต้านมสตรี
- เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ รวมทั้งการฉีกขาดของเส้นเอ็นบริเวณข้อต่างๆ
- อวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ต่อมลูกหมาก และกระเพาะปัสสาวะ
การตรวจ MRI ดีอย่างไร?
- การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถจำแนกคุณสมบัติของเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ และตรวจหาสิ่งผิดปกติในระยะแรกได้
- ตรวจได้ทุกระนาบโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนท่าผู้ป่วย
- สามารถตรวจเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายในกระดูกได้
- ไม่มีรังสีเอ็กซ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
- สามารถทำการตรวจได้แม้เป็นโรคไตวายโดยไม่จำเป็นต้องฉีดสารทึบรังสี
- โอกาสแพ้สารที่ใช้ในการตรวจ (Gadolinium) น้อยมาก เมื่อเทียบกับสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
- โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ ยกเว้น การตรวจช่องท้องควรงดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 4- 6 ชั่วโมง
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้