มะเร็งนรีเวชเป็นมะเร็งที่เริ่มต้นในอวัยวะสืบพันธุ์สตรี สัญญาณเตือน อาการ และปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งทางนรีเวชแต่ละอวัยวะแตกต่างกัน มะเร็งนรีเวชที่พบบ่อยเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยมะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งเนื้อรก มะเร็งตัวมดลูก และมะเร็งปากช่องคลอดตามลำดับ ส่วนมะเร็งท่อนำไข่ และมะเร็งช่องคลอดพบได้น้อยมาก
ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งนรีเวชทั้งสิ้น ซึ่งโดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ ในสหรัฐอเมริกาพบว่า แต่ละปีมีผู้ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งนรีเวชประมาณ 71,500 คน และมีประมาณ 26,500 คน เสียชีวิตจากมะเร็งกลุ่มนี้
อาการและอาการแสดงดังตารางข้างล่างมีความสัมพันธ์กับมะเร็งทางนรีเวช อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชไม่ได้มีอาการเดียวกันทุกคน และบางครั้งอาการนี้ยังยากที่บ่งชี้ได้ เพราะเป็นอาการที่อาจเป็นสาเหตุหรือเกี่ยวข้องกับโรคอื่น ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องให้ความเอาใจใส่ต่อร่างกาย และรู้สิ่งที่ผิดปกติไป
อาการแสดง
1)
ผิดปกติที่ช่องคลอด มีเลือดออก อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก/มดลูก มะเร็งช่องคลอด
2)
ปวดบริเวณช่องเชิงกราน อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก/มดลูก มะเร็งปากช่องคลอด
3)
ปวดช่องท้องหรือปวดหลัง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งรังไข่
4)
ท้องบวม อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งรังไข่
5)
สุขนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งรังไข่ มะเร็งช่องคลอด
6)
คันหรือแสบบริเวณช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งปากช่องคลอด
7)
มีการเปลี่ยนแปลงของสีหรือผิวที่บริเวณปากช่องคลอด อาทิ มีผื่น ไฝ หรือหูด อาจเป็นสัญญาณเตือนของ มะเร็งปากช่องคลอด
ควรปรึกษาแพทย์เมื่อ :
- เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด นอกเวลาประจำเดือน หลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือ หลังวัยหมดประจำเดือน
- มีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดดังข้างต้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือนานกว่า ซึ่งเป็นอาการที่ผิดปกติไป
สัญญาณเตือนมะเร็งที่ผู้หญิงไม่ควรละเลย
นอกจากมะเร็งนรีเวชแล้วผู้หญิงยังมีสถิติหลายชนิดในอัตราที่สูงพอกับผู้ชาย ซึ่งร่างกายอาจส่งสัญญาณเตือน ได้แก่ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ท้องอืด ท้องโต เต้านมเปลี่ยนแปลง กลืนลำบาก เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องและมีอาการซึมเศร้า อาหารไม่ย่อย การเปลี่ยนแปลงในปาก ความปวด ต่อมน้ำเหลืองเปลี่ยนแปลง มีไข้ อ่อนแรง ไอเรื้อรัง
* อาการข้างต้นอาจไม่ใช่สัญญาณของมะเร็ง แต่วิธีการเดียวที่จะทราบว่าใช่หรือไม่ คือ ต้องไปพบแพทย์ *
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง