สมุนไพรกับการเกิดผลแทรกซ้อนต่อตับ

วันที่ 25-04-2013 | อ่าน : 15036


 สมุนไพรกับการเกิดผลแทรกซ้อนต่อตับ
 


          ปัจจุบันการรักษาโรคโดยใช้สมุนไพรเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ในประเทศไทยก็มีการใช้สมุนไพรมาเป็นเวลานานแล้ว ในสหรัฐอเมริกาพบว่าคนสหรัฐประมาณร้อยละ 42 ใช้สมุนไพรในการรักษาโรคเช่นกัน  และพบว่าร้อยละ 20 -30 ของคนใช้ที่มาพบแพทย์ที่คลินิกโรคตับ มีการใช้สมุนไพรร่วมด้วย มีการศึกษาพบ่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและในยุโรปมีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี
 
การใช้สมุนไพรในการรักษาโรคนั้นมีข้อจำกัด เมื่อเทียบกับการใช้ยาแผนปัจจุบันในหลายประเด็น ได้แก่
       1.  สมุนไพรมักจะประกอบด้วยสารหลายอย่าง ซึ่งบางครั้งสารที่สำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ มีระดับของยาไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับฤดูกาลที่ปลูกสมุนไพร หรือลักษณะทางภูมิประเทศที่ปลูกสมุนไพรแตกต่างกัน อาจให้ผลผลิตไม่ตรงกันเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบันซึ่งทำการสังเคราะห์เป็นสารบริสุทธิ์มีปริมาณยาอยู่ชัดเจน
       2.  เนื่องจากสมุนไพรมักมีส่วนประกอบมากกว่า 1 ตัว บางครั้งการเก็บสมุนไพรอาจมีการปนเปื้อนได้ด้วย เชื้อรา หรือแบคทีเรียต่าง ๆ ได้
       3.  สมุนไพร มีสารออกฤทธิ์หลายตัว  ซึ่งบางครั้งยังไม่ทราบว่าจะมีฤทธิ์อยู่ได้นานเพียงใด เมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบันซึ่งทราบว่าจะหมดอายุภายในกี่ปีหลังจากที่ผลิตออกมาชัดเจน ดังนั้นจึงมีทราบแน่ชัดว่ายาสมุนไพรแต่ละชนิดจะเก็บได้นานเท่าไร
การวินิจฉัยว่ายาหรือสมุนไพรชักนำให้เกิดมีผลข้างเคียงกับตับ นั้น จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัย  ได้แก่
       1.  มีประวัติรับประทานยาในเวลาซึ่งใกล้เคียงกับการเกิดผลข้างเคียงเกิดขึ้น เช่นตับอักเสบ หรือมีอาการดีซ่าน
       2.  เมื่อหยุดให้ยาแล้ว การอักเสบหรืออาการดีซ่านมักจะดีขึ้น
       3.  เมื่อมีการรับประทาน ยาดังกล่าวกลับเข้าไปอีกสามารถชักนำทำให้เกิดความผิดปกติได้อีก
       4.  เคยมีรายงานมาก่อนว่า มีผู้อื่นเคยรับประทานยาดังกล่าวจะทำให้เกิดตับอักเสบเกิดขึ้น
 
       การวินิจฉัยตับผิดปกติอันเกิดจากการใช้ยาสมุนไพรนั้นมักจะมีปัญหาในการได้ประวัติการใช้ยา เนื่องจากผู้ป่วยมักจะไม่ได้บอกแพทย์ว่าใช้ยาสมุนไพร หรือบางครั้งเข้าใจผิดคิดว่าสมุนไพรที่รับประทานนั้นไม่น่าจะเป็นยา เช่น ในกรณีของขี้เหล็กซึ่งมีการนำมาใช้ในการรักษาโรคนอนไม่หลับมีผู้ป่วยรับประทานยาสมุนไพรขึ้เหล็กอัดเม็ดบางรายเกิดมีอาการตับอักเสบเกิดขึ้น  ในครั้งแรกซึ่งวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้ผู้ป่วยหลายคนไม่ให้ประวัติการรับประทานยาขี้เหล็ก ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อว่าการรับประทานขี้เหล็กเป็นอาหารอยู่เป็นประจำ ไม่มีรายงานว่าทำให้เกิดตับอักเสบเกิดขึ้น  ดังนั้นการรับประทานใบขี้เหล็กอัดเม็ดจึงไม่น่าจะมีผลของการทำให้เกิดตับอักเสบ แต่ข้อสังเกตคือ แกงขี้เหล็กนั้นเป็นใบที่สุกแล้ว เมื่อเทียบกับใบขี้เหล็กแห้งนำมาอัดเม็ดปริมาณย่อมมากกว่า และอาจทำให้เกิดมีตับอักเสบเกิดขึ้นได้  นอกจากนี้  ยังมีรายงานการเกิดตับอักเสบได้
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก มูลนิธิโรคตับ
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้