หญ้าปักกิ่ง

วันที่ 27-02-2013 | อ่าน : 9036


 หญ้าปักกิ่ง


 
 
     หญ้าปักกิ่ง ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 10 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ใบส่วนบนสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น ใบประดับย่อยค่อนข้างกลมซ้อนกัน สีเขียวอ่อน บางใส กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน ร่วงง่าย ผลแห้ง แตกได้
 
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา 
หญ้าปักกิ่ง มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพืชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ
ในประเทศไทย มีผู้นำหญ้าปักกิ่งมาใช้รักษาอาการข้างเคียงของการรักษามะเร็ง โดยนำหญ้าปักกิ่ง 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นหรือตำให้แหลก เติมน้ำ 4 ช้อนโต๊ะ คั้นเอาแต่น้ำแบ่งครึ่ง ดื่ม 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน 
 
อาการที่อาจเกิดจากพิษของหญ้าปักกิ่ง 
หญ้าปักกิ่งไม่มีพิษเฉียบพลัน และพิษกึ่งเรื้อรังในหนูทดลอง อาการที่อาจเกิดจากพิษของหญ้าปักกิ่ง ได้แก่
  1.เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง 
  2.ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง มีฟองสีเหลือง (อาการแสดงของดีซ่าน ต้องรีบไปพบแพทย์) 
  3.ผื่นขึ้นตามผิวหนัง เป็นตุ่ม เป็นปื้น หรือเป็นเม็ดแบน คล้ายลมพิษ อาจบวมที่ตา หรือริมฝีปาก หรือมีเพียงดวงสีแดงที่ผิวหนัง 
  4.หูอื้อ ตามัว ชาที่ลิ้น ชาที่ผิวหนัง 
  5.ประสาทความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่น เพียงแตะผิวหนัง ก็รู้สึกเจ็บ ลูบผมก็แสบหนังศีรษะ เป็นต้น 
  6.ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบ คล้ายหัวใจจะหยุด และเป็นบ่อย ๆ
ข้อพึงสังเกต 
   อาการที่ชวนให้สงสัยว่าน่าจะเกิดจากพิษของยาสมุนไพร ทั้ง 6 ข้อ ดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นกับคนคนหนึ่ง โดยที่ไม่เป็นกับคนอีกคนหนึ่งก็ได้ และความรุนแรงของอาการดังกล่าวก็ไม่เท่ากันในแต่ละคน จึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง 
โดยการนำสมุนไพรมาใช้ ควรล้างทำความสะอาดส่วนของสมุนไพรก่อนนำไปใช้ เพราะอาจมีเชื้อโรค หรือไข่พยาธิ ติดอยู่ สมุนไพรที่เหลือใช้ อาจทำเป็นสมุนไพรแห้ง โดยทำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้งสนิท เก็บใส่ภาชนะสะอาดที่ปิดสนิท ป้องกันความชื้นและฝุ่นละออง 
การต้มเอาน้ำดื่ม หมายถึง ต้มสมุนไพร ด้วยการใส่น้ำพอประมาณ (3 เท่า ของปริมาณที่ต้องการใช้ โดยใช้ไฟอ่อนๆ ต้มให้เหลือ 1 ส่วน จาก 3 ส่วน ข้างต้น)


รับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้