ชีวเคมีของการเกิดมะเร็ง

วันที่ 20-11-2012 | อ่าน : 17227


 ชีวเคมีของการเกิดมะเร็ง
โดย  อ.กมล ไชยสิทธิ์

 
มะเร็งเป็นสาเหตุการตายสำคัญของประชากรชาวไทย ซึ่งการเกิดมะเร็งนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับสารพันธุกรรม และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่การเกิดมะเร็งนั้นต้องอาศัยขั้นตอนการเกิดที่สลับซับซ้อน โดยการศึกษาให้เข้าใจถึงกลไกการเกิดมะเร็งจำเป็นต้องรู้ถึงเซลล์และการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษา โดยการเกิดมะเร็งนั้นจะมียีน ที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 กลุ่มใหญ่ๆ  ได้แก่ 
 
    1. Tumor suppressor genes
    2. Oncogene
    3. DNA repair gene
    4. Telomerase gene
 
1.  Tumor suppressor genes
     โดยปกติแล้วยีนเหล่านี้ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เซลล์แบ่งตัวมากเกินไป ซึ่งในภาวะปกติยีนนี้จะทำหน้าที่อยู่เพื่อจะควบคุมเซลล์ไว้ให้สมดุล แต่การยับยั้ง tumor suppressor genes เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง โดยการยับยั้งนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น การขาดหายไปของยีนที่ตำแหน่งนั้นๆ (Allele loss) การขาดหายไปของโครโมโซมที่ยีนนั้นอยู่ (chromosome deletion) หรือการเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับ DNA เกิด mutation ทำให้ยีนนั้นทำหน้าที่ผิดปกติไปจนสูญเสียความสามารถในการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ได้
 
2.  Oncogene
     Oncogene สร้าง oncoproteins หลายชนิดที่มีคุณสมบัติเป็น growth factor, growth factor receptors, protein tyrosine kinases, serine-threonine protein kinases, guanine nucleotide-binding proteins (G-protein) และ nuclear protein ซึ่งโปรตีนหรือสารที่สร้างขึ้นมาสามารถที่จะกระตุ้นให้เซลล์มีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ 
 
3.  DNA repair gene
     เป็นยีนที่ทำหน้าที่คอยซ่อมแซมยีนเมื่อยีนได้รับความเสียหาย หรือมีการจับคู่ของยีนที่ผิดปกติไป หากฟังก์ชั่นของยีนดังกล่าวสูญเสียไปย่อมเกิดผลเสียตามมา
 
4.  Telomerase gene
     เอนไซม์  telomerase ในคน telomeric DNA จะเป็น tandem repeats ของนิวคลีโอไทด์ AGGGTT  การที่ telomerase ช่วยเพิ่มนิวคลีโอไทด์ที่เป็น tandem repeat เข้าไป  เพื่อจะเป็นแม่พิมพ์ให้ primer เข้ามาจับ และมีการสังเคราะห์ DNA ของอีกสายหนึ่ง  เพื่อให้โครโมโซมยาวเท่าเดิม  และป้องกันการสูญเสียยีนสำคัญที่อยู่ใกล้ปลายโครโมโซม
     ใน somatic cells ที่มีอายุมากขึ้น เอนไซม์  telomerase ไม่ทำงาน จึงทำให้ telomere สั้นลง แต่ถ้ามีความผิดปกติของ telomerase คือ ทำงานมากขึ้นก็จะทำให้โครโมโซมยาวขึ้น เซลล์จะแบ่งตัวได้โดยไม่มีขีดจำกัดซึ่งพบได้ในเซลล์มะเร็งบางชนิด ปัจจุบันจึงได้นำความรู้นี้มาพัฒนาสารที่ยับยั้ง telomerase  เพื่อที่จะทำให้ปลายโครโมโซมสั้นลง  เซลล์มะเร็งก็จะตายได้
ยีนต่างๆ เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง เมื่อมีการผิดปกติของยีนดังกล่าวต่อไปนี้ จะสามารถส่งผลให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
 
[Oncogene]
ยีนสำหรับการสร้าง growth factor หรือ receptors
PDGF สำหรับการสร้าง platelet derived growth factor ส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด glioma
erb-B         สร้าง receptor ของ epidermal growth factor ส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด glioblastoma และ breast cancer
erb-B2 เรียกว่า HER-2 หรือ neu สร้าง growth factor receptor ส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด breast cancer, salivary gland และ ovarian cancer
RET         สร้าง growth factor receptor ส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด thyroid cancer
 
ยีนสำหรับ การส่ง relay stimulatory signaling pathway
Ki-ras มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด lung, ovarian, colon และ pancreatic cancer
N-ras         มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด leukemia
 
ยีนสำหรับ transcription factors ที่ activate growth-promoting genes
c-myc มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด leukemia, breast, stomach และ lung cancer
N-myc มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด neuroblastoma (nerve cell cancer) และ glioblastoma
L-myc มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด lung cancer
 
ยีนสำหรับโมเลกุลอื่นๆ 
Bcl-2         สำหรับโปรตีนที่ป้องกันการเกิด apoptosis มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด follicular B cell lymphoma
Bcl-1    บางครั้งเรียกว่า PRAD1 สำหรับ cyclin D1 เป็นตัวช่วยให้ cell cycle ดำเนินต่อไปได้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด breast, head และ neck cancer
MDM2 สำหรับโปรตีนเป็น antagonist ต่อ p53 tumor suppressor protein มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด sarcomas และมะเร็งอื่นๆ
 
[Tumor suppressor genes]
ยีนสำหรับโปรตีนใน cytoplasm
APC         มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด stomach cancer
DPC4 สำหรับโมเลกุลที่เป็นตัวส่งสัญญาณที่มีผลต่อการยับยั้งการแบ่งตัวของ cell division มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด pancreatic cancer
NF-1         สำหรับโปรตีนที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ Ras protein มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด neurofibroma และ pheochromocytoma (มะเร็งของ peripheral nervous system) และ myeloid leukemia
NF-2         มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด meningioma และ ependymoma (brain cancer) และ schwannoma
 
ยีนสำหรับโปรตีนในนิวเคลียส
MTS1 สำหรับ p16 protein ที่ทำหน้าที่ทำลาย cell cycle มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งได้หลายระบบ
RB         สำหรับ pRB protein ยับยั้ง cell cycle มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด retinoblastoma, bone, bladder, small cell lung และ breast cancer
p53         สำหรับ p53 protein ทำให้ cell cycle หยุด และเหนี่ยวนำให้เกิด apoptosis ของเซลล์ที่ผิดปกติ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งหลายระบบ
WT1         มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด Wilm’s tumor ที่ไต
 
ยีนสำหรับโปรตีนที่อยู่ในเซลล์แต่ไม่แน่ชัดในตำแหน่งที่พบ
BRCA1 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด breast และ ovarian cancer
BRCA2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด breast cancer
VHL         มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิด renal cell cancer
 
 
เอกสารอ้างอิง
1. นรินทร์ วรวุฒิ.  Cancer biology. ใน วิทยา ศรีดามา (บรรณาธิการ), ตำราอายุรศาสตร์ 4, หน้า 290-316. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550
2. Weinberg RA. How cancer arises. Scientific American 1996; 275(3):62-71.
3. Cooper GM. The Cell: A molecular approach 2nd ed. ASM Press, pp. 609-650. 2000
4. การซ่อมแซม DNA . [Available on 28 Jan 2008]  http://www.agi.nu.ac.th/webnewasp/ereading/gene/unit7.pdf
5. ยีนและการแสดงออกของยีน. [Available on 28 Jan 2008] www.si.mahidol.ac.th/department/Biochemistry/home/announcement
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความรู้มะเร็ง
การดูแลผู้ป่วย
การรักษามะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้