ไขความลับการรักษามะเร็งด้วยรังสี ตอนที่ 2

วันที่ 09-11-2012 | อ่าน : 6460


 

ไขความลับการรักษามะเร็งด้วยรังสี  ตอนที่ 2
 

โดย รศ.พญ.สุพัตรา  แสงรุจิ

 



 

การรักษามะเร็งด้วยรังสี

    1. รักษาด้วยรังสีอย่างเดียว

    2. รักษาด้วยรังสีร่วมกับการผ่าตัด

    3. รักษาด้วยรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด และ/หรือยามุ่งเป้า

    4. รักษาด้วยรังสีร่วมกับการให้คลื่นความร้อน

    5. รักษาทุกวิธีร่วมกัน

ฉายรังสีรักษาอย่างเดียวไม่ผ่าตัด

    - เซลล์มะเร็งไวต่อการรักษาด้วยรังสี

    - ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ผ่าตัดไม่ได้

    - เป็นชนิดเกรดสูง แบ่งตัวเร็ว โตเร็ว กระจายไกลเร็ว

    - ฉายบรรเทาอาการในตำแหน่งที่มะเร็งกระจายไกล เช่น กระดูก ปอด ต่อมน้ำเหลือง สมอง ตับ

    - ฉายเพื่อให้โรคหายขาดในรายที่เป็นมะเร็งขนาดเล็ก อยู่ในตำแหน่งที่ทำการผ่าตัดแล้วทำให้เสียความสวยงาม กลืนลำบาก พูดลำบาก

ฉายรังสีรักษาก่อนผ่าตัด

    - เซลล์มะเร็งเป็นชนิดที่ไวต่อการรักษาด้วยรังสี

    - ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก แบ่งตัวเร็ว โตเร็ว

    - เมื่อฉายรังสีทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลง ทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น

รักษาด้วยรังสีระหว่างผ่าตัด

    - จะต้องมีอุปกรณ์และเครื่องฉายรังสีที่เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้าจึงจะทำได้

    - ห้องผ่าตัดต้องอยู่ใกล้ห้องฉายรังสี

    - ฉายรังสีโดยใช้อุปกรณ์พิเศษครอบไปในตำแหน่งที่ผ่าตัดเอามะเร็งออก เพื่อลดจำนวนเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ แล้วเย็บปิดแผล 

    - เมื่อแผลหายแล้วต้องมารับการฉายรังสีระยะไกลภายนอกเพิ่มเติม

ฉายรังสีรักษาหลังผ่าตัด

     - เซลล์มะเร็งชนิดนั้นๆ ไวต่อการรักษาด้วยรังสี

     - ตรวจพบเซลล์มะเร็งติดขอบรอยผ่าตัด

     - เหลือมะเร็งมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเป็น micro  residual

     - เหลือมะเร็งมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็น macro residual  

     - มะเร็งรุกไปในหลอดน้ำเหลือง, หลอดเลือด, เหยื่อหุ้มเส้นประสาท

     - มะเร็งกระจายไปต่อมน้ำเหลือง และ/หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง

     - เซลล์มะเร็งเป็นชนิดเกรดสูง แบ่งตัวเร็ว กระจายเร็ว

ฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดและยามุ่งเป้า  

    - ให้ยาเคมี และ/หรือยามุ่งเป้า ก่อนการรักษาด้วยรังสี

    - ให้ยาเคมี และ/หรือยามุ่งเป้า ระหว่างการรักษาด้วยรังสี

    - ให้ยาเคมี และ/หรือยามุ่งเป้า หลังการรักษาด้วยรังสี

ผลที่ได้รับ

   - ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลงหรือฝ่อหายไป

   - ลดอาการเจ็บปวด

   - ลดอาการเลือดคั่ง, เลือดออกมาก

   - ลดอาการกดทับ หรือกดรัดอวัยวะ

   - ลดอาการอุดตันอวัยวะ

มะเร็งเกิดมาจากเนื้อเยื่อในร่างกายของเรากลายพันธุ์ 

แบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ ได้ 3 ชนิด คือ

 

เกิดจาก

เป็นมะเร็งชนิด

เยื่อบุผิวนอกและผิวใน

Carcinoma

เนื้อเยื่อชั้นกลาง

Sarcoma

เม็ดเลือดและระบบน้ำเหลือง

Leukemia และ Lymphoma

ปริมาณรังสีที่ให้เพื่อให้โรคหายขาด

Carcinoma                                                            60 - 78 Gy

Sarcoma                                                               66 - 80 Gy            

Lymphoma                                            HD           40 - 46 Gy

                                                            NHD         36 - 56 Gy

Leukemia                                                              15 - 25 Gy

หลังได้รับยาเคมีบำบัด ปริมาณรังสีลดลง           5 - 15 Gy

ปริมาณรังสีที่ให้เพื่อบรรเทาอาการ

- ให้ประมาณ 1/2 - 2/3 ของปริมาณรังสีทั้งหมดที่ให้เพื่อให้โรคหายขาด อยู่ระหว่าง 8 - 30 Gy หรืออาจจะสูงถึง 50 Gy

- ปริมาณรังสีสูงสุดไม่เกินปริมาณรังสีที่ให้เพื่อให้โรคหายขาด

 ทิศทางการฉายรังสี

- ฉายด้านเดียว

- ฉาย 2 ด้าน

- ฉาย 3 ด้าน

- ฉาย 4 ด้าน

- ฉาย 5 ด้านขึ้นไป (3DCRT, IMRT) 


** ยิ่งฉายหลายด้านเนื้อเยื่อปกติจะได้รับรังสีเฉลี่ยลดลง ผลไม่พึงประสงค์ต่อเนื้อเยื่อปกติ ก็จะลดลงด้วย **

 

  ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078   

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้