ผลข้างเคียงของรังสีรักษาโรคมะเร็ง

วันที่ 05-10-2012 | อ่าน : 20797


 ผลข้างเคียงของรังสีรักษาโรคมะเร็ง  


Radioterapia: cos'è e come funziona? - Vivere più sani


เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่ได้รับรังสีเท่านั้น ระยะเวลาการเกิดผลข้างเคียงมี 2 ระยะคือ

1.ผลข้างเคียงเฉียบพลัน เกิดในช่วงเวลาที่ได้รับรังสีอยู่ และส่วนใหญ่หายภายใน 2 เดือนหลังจบการรักษา
2.ผลข้างเคียงเรื้อรัง (ระยะยาว) เกิดขึ้นภายใน 6 เดือนหรือมากกว่า หลังจากจบการรักษา
 
ผลข้างเคียงของรังสีรักษาในแต่ละบริเวณ
1.สมอง  อาจเกิดผมร่วง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่า เห็นภาพซ้อน
2.เต้านม  ผิวหนังบวมแดง สีคล้ำขึ้น 
3.ช่วงอก  มีอาการไอ  เจ็บคอ กลืนอาหารเจ็บ ปอดอักเสบ
4.ศีรษะและลำคอ   เยื่อบุช่องปากอักเสบ เจ็บเวลากลืน เจ็บหู ทานอาหารไม่รู้รส  ผิวหนังสีคล้ำขึ้น เป็นแผล
5.อุ้งเชิงกรานและทวารหนัก    มีอาการถ่ายเหลว อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ไม่มีประจำเดือน เป็นหมัน
6.ช่องท้อง   อาจเกิดอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังสีคล้ำขึ้น เป็นแผล
 
วิธีการรักษาผลข้างเคียงแต่ละชนิด
       ถ่ายเหลว  (diarrhea) 
     - ทานอาหารประเภทซุบ 8 – 12 ถ้วยต่อวัน หรือ น้ำผลไม้
     - ทานอาหารแต่ละมื้อปริมาณน้อยลงแต่ทานจำนวนครั้งมากขึ้น
     - ทานอาหารอ่อน ( หลีกเลี่ยงการดื่มนม หรือทานไอศกรีม , อาหารรสจัด , อาการที่มีใยอาหารสูง เช่นผักผลไม้ดิบ) 
     - หลังจากถ่ายเสร็จ ไม่ควรใช้กระดาษทิชชูเช็ด  เนื่องจากจะทำให้เสียดสีบริเวณทวารหนักและเป็นแผลได้  ควรใช้ผ้าหรือเศษกระดาษนุ่มๆ เช็ดแทน
     - ถ้าอาการไม่ดีขึ้น  ควรปรึกษาแพทย์
อ่อนเพลีย (fatigue)
     - นอนหลับอย่างน้อย 8 – 12 ชั่วโมงต่อคืน
     - ออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ เดินเล่น
     - พูดคุยกับผู้อื่น เช่นผู้ป่วยคนอื่นๆ ในการดูแลเรื่องอาการอ่อนเพลีย  หรือ แพทย์และ  พยาบาล เป็นต้น
 
ผมร่วง  
     จะเกิดภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ระหว่างการรักษา  ถ้าปริมาณรังสีไม่สูงมาก  ผมอาจจะขึ้นได้ใหม่ภายใน 3 – 6 เดือนหลังจากจบการรักษา ( ผมที่ขึ้นมาใหม่จะไม่เหมือนเดิมอาจจะแข็ง บาง หยิก )   อาจจะใส่วิกผม    สระผมเบาๆ    สวมหมวกหรือผ้าเวลาไปข้างนอก เพื่อให้ศีรษะอบอุ่นเสมอ
             
การเปลี่ยนแปลงในช่องปาก    
      เกิดกับผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณ หู คอ จมูก ทำให้เจ็บปาก ทานอาหารน้อยลง ทานอาหารไม่รู้รส น้ำลายแห้ง ฟันผุ วิธีบรรเทาอาการ  ทำได้โดยพบทันตแพทย์ก่อนฉายรังสี ดื่มน้ำบ่อยๆ หรือใช้น้ำลายเทียม  ทำความสะอาดช่องปากทุกวัน และหลังทานอาหารทุกครั้ง  หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด , อาหารร้อน  ควรทานอาหารอ่อนหรือ อาหารที่เคี้ยวง่าย และพบทันตแพทย์ทุก 3 – 6 เดือน
 
การเปลี่ยนแปลงระบบสืบพันธุ์
ในผู้หญิง    
     เกิดการตีบแคบของช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง หมดประจำเดือนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ( มีอาการร้อนวูบวาบ , ช่องคลอดแห้ง )
 
ในผู้ชาย  เป็นหมัน , สเปริ์มลดลง
     วิธีการรักษา  
     - ต้องพูดคุยกับสามี – ภรรยา ของตนเองให้เข้าใจในผลข้างเคียงของการฉายรังสี
     - คุยกับแพทย์   ถ้ายังต้องการมีบุตร อาจจะมีการเก็บสเปิร์มหรือ เก็บไข่ไว้ในอนาคต
     - เวลามีเพศสัมพันธ์ ใช้สารหล่อลื่นต่างๆ เช่น K – Y Jelly
     - ในกรณีที่ช่องคลอดตีบแคบ ใช้อุปกรณ์ขยายช่องคลอด
 
การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนัง   
     เกิดบวมแดง คัน ผิวหนังแห้ง เป็นแผล ควรอาบน้ำด้วยสบู่อ่อนๆ ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม  หลีกเลี่ยงการขัดถูแรงๆ   ใช้โลชั่นหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวตามที่แพทย์สั่ง  สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้านุ่ม เช่นผ้าฝ้าย   ควรปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังมาก
 
กลืนอาหารเจ็บ  ( หลอดอาหารอักเสบ )    
    ทานอาหารอ่อน ( งดอาหารรสจัด , อาหารร้อน , อาหารแข็ง   อาหารที่มีกรดสูง, เหล้า , บุหรี่ ) หลังจากทานอาหารเสร็จควรยกศีรษะสูงหรือนั่งประมาณ 30 นาที ทานอาหารต่อมื้อปริมาณน้อยลงแต่ทานบ่อยครั้งขึ้น ปรึกษาแพทย์ เพื่อบางครั้งแพทย์จะพิจารณาให้ยาช่วยบรรเทาอาการได้
 
การเปลี่ยนแปลงทางระบบทางเดินปัสสาวะ  
     เกิดปัสสาวะบ่อย แสบขัด หรือปัสสาวะเป็นเลือดได้
 
วิธีการรักษา
     - ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้ว / วัน
     - หลีกเลี่ยงชา , กาแฟ , แอลกอฮอล์
     - ห้ามกลั้นปัสสาวะ
     - ปรึกษาแพทย์เพื่อแพทย์จะพิจารณาให้ยาช่วยบรรเทาอาการได้
     
ผลข้างเคียง เรื้อรัง ( ระยะยาว ) ของรังสีรักษา  ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีและบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี  ระยะเวลาในการรักษา    รวมถึงการรักษาอื่นที่ได้รับร่วมด้วย เช่น การผ่าตัด เคมีบำบัด เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยควรพูดคุยและซักถามเกี่ยวกับผลข้างเคียงในระยะยาวที่เกิดขึ้น วิธีการรักษาและป้องกันรวมถึงอาการเริ่มแรกของการเกิดผลข้างเคียงโดยปรึกษากับแพทย์และพยาบาล และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอไปตลอดชีวิต
 
 
 
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078   

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้