แผลกดทับ จะเกิดขึ้นในรายที่มีอาการบาดเจ็บสาหัสหรือคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น เด็กที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองและกระดูกสันหลัง บริเวณต้นคอหรือบริเวณหลังต่ำกว่าคอ ก็จะทำให้สมองไม่สามารถส่งกระแสประสาทไปสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างปกติ หรือในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต เกิดอุบัติเหตุกระดูกหักต้องดึงขาหรือใส่เฝือกอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ ในรายหลังผ่าตัด หรือพูดอย่างเข้าใจง่ายๆ คือ จะเกิดในผู้ที่ไม่สามารถขยับหรือช่วยเหลือตัวเองได้หรือผู้ป่วยที่เสียการรับรู้ความรู้สึก
6. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง
การสังเกตอาการ
หากเกิดรอยแดงที่บริเวณผิวหนัง รอยดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนกลับเป็นสีเดิมของผิวปกติแม้ว่าจะไม่มีอาการแผลกดทับแล้วก็ตาม นี่เป็นอาการเริ่มต้นของแผลกดทับ รอยแตกของผิวหนังอาจจะเป็นแผลตื้นๆ และสามารถขยายเป็นแผลกว้างและขยายใหญ่ขึ้น ลามลึกถึงชั้นไขมันไปยังเนื้อเยื่อขยายตัว ไปยังกล้ามเนื้อและกระดูก หากเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่แผล แผลจะมีสีเขียวคล้ำ มีกลิ่นและหนอง และอาจจะต้องใช้การตัดทิ้งเพื่อรักษาอาการ บางครั้งอาจมีขนากเล็กเมื่อมองภายนอกแต่ภายในอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อพบว่าเกิดรอยแตกหรืออาการดังกล่าวบริเวณผิวหนังของผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
การป้องกันแผลกดทับและการพยาบาล
1. ดูแลพลิกตะแคงตัวเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนคว่ำกึ่งตะแคงสลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆ รองบริเวณที่กดทับหรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและสดแรงกดทับ
2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
3. ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟ้องน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
4. การยกหรือการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี
5. ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยอุจจาระหรือปัสสาวะแล้วต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้งและหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุยควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี
6. ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรงมีการไหลเวียนของโลหิตดี
7. ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วยจะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลจำนวนมาก นอกจากนี้ต้องดูแลให้วิตามิน ธาตุเหล็ก และน้ำอย่างสมดุลด้วย
ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี
คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง