เคมีบำบัดรักษามะเร็ง ตอนที่ 2

วันที่ 19-03-2012 | อ่าน : 9306


 เคมีบำบัดรักษามะเร็ง ตอนที่ 2
 
Extra handen voor de zorg - Leer Werk Akkoord
 
ระยะเวลาของการให้ยาเคมีบำบัด
          ระยะเวลาของการให้ยาเคมีบำบัดนั้นขึ้นอยู่กับชนิด ระยะของโรคมะเร็งที่เป็น  ตำแหน่งของมะเร็ง  และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย  รวมทั้งการตอบสนองของยาเคมีบำบัดกับผู้ป่วยแต่ละราย  บางกรณีผู้ป่วยเป็นโรคชนิดเดียวกัน ตำแหน่งที่เป็นเดียวกัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ  กำหนดเวลา ตลอดจนการเลือกใช้ยาให้ได้ผลดีที่สุดกับผู้ป่วย  แพทย์จะคำนึงถึงประโยชน์ในการรักษาของผู้ป่วยเสมอ โดยปกติยาเคมีบำบัดมักจะให้เป็นชุดแต่ละชุดจะห่างกัน 3 – 4 สัปดาห์  และในเคมีบำบัด 1 ชุดนั้นผู้ป่วยอาจจะได้รับยา 1 วันหรือมากกว่า เช่น 5 วันแล้วพักก่อนที่จะให้ยาชุดต่อไป ในระหว่างที่ให้ยาเคมีบำบัดควรติดตามการรักษาเป็นระยะ โดยมาตรวจตรงตามแพทย์นัดเพื่อการได้รับยาจะได้เป็นไปตามแผนการรักษา เพราะการได้รับยาไม่ครบหรือระยะเวลาไม่ตรงตามที่กำหนดนั้นจะส่งผลเสียต่อการรักษา ดังนั้นถ้ามีเหตุจำเป็นทีต้องเลื่อนระยะเวลาการให้ยาควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อนทุกครั้ง
 
การเตรียมตัวสำหรับผู้ป่วยทำเคมีบำบัด

ด้านร่างกาย
ชีวิตของผู้ป่วยจะเปลี่ยนแปลงไปทันทีหลังจากเริ่มยาเคมีบำบัด  เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องปรับตัวให้เข้ากับหมายกำหนดการรักษา  และสุขภาพของผู้ป่วยอาจจะถูกกระทบกระเทือนจากอาการข้างเคียงของยา แต่ผู้ป่วยสามารถจะผจญกับมันได้  โดยเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความประพฤติบางอย่าง  สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยควรตระหนักคือ  มิใช่มีผู้ป่วยเพียงผู้เดียวเท่านั้น  ที่กำลังผจญกับสิ่งเหล่านี้ แต่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกหลายๆคน ที่อยู่ในสภาพเดียวกันและได้ต่อสู้กับสถานการณ์เหล่านี้มาแล้วด้วยความเข้มแข็งและเป็นผลสำเร็จ
  - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  เนื้อสัตว์  นม  ไข่  ผัก  ผลไม้
  - ควรพักผ่อนให้เพียงพอ  และเพิ่มการนอนพักในตอนกลางวัน 1-2  ชั่วโมงต่อวัน
  - ถ้ามีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  หรือโรคที่ต้องได้รับประทานยาเป็นประจำ  ต้องแจ้งให้แพทย์ผู้ดูแลทราบ
  - ผู้ป่วยควรคุมกำเนิดระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด  และภายหลังการรักษาประมาณ 2 ปี  เนื่องจากยาเคมีบำบัดอาจส่งผลให้ทารกผิดปกติได้  ถ้าต้องมีบุตรควรปรึกษาแพทย์
  - หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับบุคคลที่มีการติดเชื้อ  เช่น  เป็นไข้หวัด
ด้านจิตใจ
สุขภาพจิตมีความสำคัญพอๆกับสุขภาพร่างกาย  การที่ผู้ป่วยได้สนทนาปรับทุกข์กับเพื่อนที่สนิทสนม  เพื่อนผู้ป่วยโรคเดียวกัน  และสมาชิกในครอบครัวจะช่วยทุเลาความกังวลได้  ผู้ป่วยอาจจะคุยกับพระ  แพทย์  พยาบาล  หรือนักจิตวิทยา
  - ควรทำอารมณ์และจิตใจให้พร้อมรับการรักษา
  - ลดความกลัว  ความวิตกกังวล  เช่น  หางานอดิเรก
  - มั่นใจในวิทยาการสมัยใหม่  ซึ่งสามารถลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
  - ถ้าท่านรู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรค  การดูแลรักษาตนเองควรปรึกษาแพทย์และพยาบาล
  - ทำสมาธิลดความเครียด
 
ข้อควรปฏิบัติตนระหว่างได้รับเคมีบำบัด
  - สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  เช่น  คลื่นไส้อาเจียน  มีไข้  หายใจไม่ออก  ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด  ควรแจ้งให้แพทย์  พยาบาลทราบ  เพื่อจะได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้อง
  - ดื่มน้ำมากๆเพื่อช่วยขับสารเคมี  ซึ่งอาจตกค้างในไตออกทางปัสสาวะ  และให้เก็บปัสสาวะใส่ขวดที่จัดไว้ให้  เพื่อดูความสมดุล ระหว่างน้ำดื่มและจำนวนปัสสาวะ
  - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ  และเพิ่มการนอนพักในเวลากลางวันวันละ  2-3  ชั่วโมง
  - ระมัดระวังในการขยับแขน  บริเวณที่ให้น้ำเกลือ  ขณะที่ให้ยาอยู่
  - ระวังการเกิดบาดแผล  หรืออุบัติเหตุ
  - สังเกตผิวหนังบริเวณที่ให้ยาเคมีบำบัด  ถ้าพบอาการบวมแดง  พอง  หรือมีจ้ำเลือด  ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  - ถ้าได้ยาเคมีบำบัดชนิดรับประทาน  หลังรับประทานแล้วอาเจียน  รีบแจ้งให้แพทย์ทราบ  เพื่อพิจารณาการให้ยาซ้ำ  การรักษาจะได้ครบถ้วน
  - อาหารทุกชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถรับประทานได้หมด  ยกเว้น  ของหมักดอง  ของไหม้เกรียม  อาหารสุกๆดิบๆ  เป็นต้น  เน้นรับประทานอาหารที่เป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์  เนื้อหมู  เนื้อวัว  ตับหมู  ผักใบเขียว  อาหารที่มีธาตุเหล็กบำรุงโลหิต  เพราะยาเคมีมีผลทำให้โลหิตจาง  ซีด  อ่อนเพลีย
  - ขณะรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด  ควรดูแลบริเวณที่ฉีดยาตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด  โดยจะต้องประคบน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นบริเวณเส้นที่ฉีดยา  ตามชนิดของยาที่ฉีด  เพื่อรักษาสภาพเส้นเลือด  ทั้งนี้ทั้งนั้น  ถ้าไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด  อาจเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อข้างเคียงได้
 
การดูแลผู้ป่วยสำหรับผู้ใกล้ชิด
คนรอบข้างหรือผู้ใกล้ชิดที่ดูแลผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งมีความสำคัญมากในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย  เพราะส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย  สภาพจิตใจของผู้ป่วยดีคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็จะดีขึ้น  ข้อแนะนำที่กล่าวต่อไปนี้ผู้ใกล้ชิดท่านไหนที่สนใจนำไปปฏิบัตินั้นก็ควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยด้วยความจริงใจ
  - ต้องเข้าใจว่าผู้ป่วยนั้นขณะที่รับการรักษาจะมีสภาพจิตใจที่ไม่ดี  และในบางคนอาจจะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติระหว่างที่ทำเคมีบำบัด
  - เมื่อสภาพร่างกายของผู้ป่วยเริ่มแข็งแรงเราควรจะต้องให้กำลังใจหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตที่ปกติ
  - หยิบยื่นความต้องการขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้ป่วย  ไม่ควรเข้มงวดหรือเอาใจเกินไปจนเกินไป
  - พยายามทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเรายินดีรับฟังปัญหาหรือความไม่สบายใจของผู้ป่วย
  - ผู้ใกล้ชิดจะต้องเข้าใจว่าผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่อารมณ์แปรปรวนอย่างมาก  ต้องเตรียมตัวเตรียมใจรับอารมณ์เหล่านี้
  - ให้กำลังใจและความหวัง  เพราะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งก็มีโอกาสหายและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมอนคนทั่วๆ ไป
  - การรับประทานอาหารควรจะจัดอาหารหลายประเภทให้ผู้ป่วยได้เลือกรับประทานไม่ควรบังคับให้ผู้ป่วยทานอย่างใดอย่างหนึ่ง  (อาหารเหล่านั้นต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยด้วยทั้งหมด)
  - พยายามทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้น
  - หากผู้ป่วยไม่สามารถทานอาหารภายใน 2-3 วันหรือไม่สามารถดื่มน้ำได้ใน 1 วัน ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที


 
          



 ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078   
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้