อาหารสำหรับผู้ป่วยท้องเสีย

วันที่ 06-02-2012 | อ่าน : 21018


อาหารสำหรับผู้ป่วยท้องเสีย

ท้องเสีย (Diarrhea)

สำหรับในผู้ป่วยมะเร็งท้องเสียเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ  หลักๆ คือ ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด หรือลำไส้อักเสบจากการฉายรังสี การดูดซึมอาหารผิดปกติ  หรือแม้กระทั่วความวิตกกังวล ในกรณีที่ทราบสาเหตุก็ให้การรักษาเป็นการเฉพาะในแต่ละราย  เช่น ต้องรับประทานยา  และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งโดยเคร่งครัด  พร้อมกับต้องดูแลด้านอาหารร่วมด้วย

อาหารเมื่อมีอาการท้องเสีย

Recommend Menu – YUXIN & JAENICE


     1)  ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนที่มีกากน้อย โปรตีนและแคลอรีสูง งดอาหารที่ระคายเคืองหรือกระตุ้นทางเดินอาหาร  ได้แก่ อาหารทอด อาหารมัน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง (ยกเว้นน้ำองุ่น, น้ำแอปเปิ้ล) ผักดิบ เครื่องเทศ  อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส (อาทิ หัวหอม กะหล่ำปลี ถั่ว) อาหารที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ งดนม และผลิตภัณฑ์จากนม

     2)  ดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย ผิวหนังบริเวณทวารหนักไม่ให้เป็นแผน โดยทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น สบู่อ่อนๆ ล้างแล้วซับให้แห้งทุกครั้งหลังถ่าย ทำ Hot sitz bath เพื่อช่วยให้สบายขึ้น 

     3)  ดูแลให้ผู้ป่วยได้น้ำทดแทน ได้แก่ น้ำซุป น้ำองุ่น น้ำชาจางๆ หรืออาจผสมน้ำเกลือแร่เพื่อใช้เองที่บ้าน  โดยใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวดแม่โขง (750 ซีซี) ในเกลือแกง 1/2 ช้อนชาและน้ำตาล 2 ช้อนโต๊ะ ผสมไว้ดื่มภายใน 24 ชั่วโมง 

     4)  ถ้าท้องเสียมากโดยไม่เคยเป็นมาก่อนและมีไข้ร่วมด้วย เพ้อ พูดไม่รู้เรื่อง ซึม ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

     5) ไม่ว่าผู้ป่วยจะเกิดอาการท้องเสียด้วยสาเหตุใดก็ตาม ควรได้รับการดูแลทางด้านอาหารที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการที่เป็นอยู่ทรุดหนักลงกว่าเดิม นำไปสู่ภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่รวมไปถึงสารน้ำ อันเป็นเหตุให้ผู้ป่วยต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานขึ้น หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิต การรับประทานอาหารอาจยึดหลักอาหารสำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ (Neutropenic diet) สำหรับอาหารแต่ละกลุ่มสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ขอแนะนำดังนี้

ข้าวแป้ง
     ผู้ป่วยสามารถรับประทานข้าวได้ตามปกติ แต่อาจเปลี่ยนมารับประทานข้าวขาวแทนข้าวกล้องเพื่อลดปริมาณใยอาหาร เนื่องจากใยอาหารจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ แต่ในภาวะที่ท้องเสียร่างกายไม่ต้องการให้ลำไส้เคลื่อนตัวมากจนเกินไป ดังนั้นจึงเว้นอาหารประเภทเส้นใยสูงไว้ชั่วระยะหนึ่ง ในส่วนของก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง (ไม่ใช้ขนมปังโฮลวีท) สามารถเลือกรับประทานได้ตามปกติ

เนื้อสัตว์
     เนื้อสัตว์ทุกชนิดสามารถรับประทานได้ แต่หลีกเลี่ยงการนำมาปรุงอาหารรสจัดเกินไป เช่น ยำ ต้มยำ เพราะกรดซิตริกหรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวและมีความเผ็ด ก็สามารถกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ได้

ไขมัน
     สามารถรับประทานได้ตามปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน แต่ควรหลีกเลี่ยงกรดไขมันอิ่มตัว ได้แก่ พวกน้ำมันปาล์มและน้ำมันที่มาจากเนื้อสัตว์ รวมถึงอาหารประเภทแกงกะทิ เพราะไขมันดังกล่าวไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายผู้ป่วยมะเร็ง

ผักและผลไม้
     ควรหลีกเลี่ยงผักและผลไม้สดที่ยังไม่ผ่านความร้อน และก่อนการนำมาปรุงประกอบอาหารควรล้างผักให้สะอาด หลีกเลี่ยงการสัมผัสผักสดด้วยมือเปล่า ผลไม้ที่มีเปลือกหนาเวลาบริโภคเนื้อส่วนที่บริโภคไม่ควรสัมผัสโดยตรงกับมือผู้ปรุงอาหาร อาทิ ส้มโอ แตงโม พึงระวังไม่จัดอาหารประเภทผลไม้สดให้ผู้ป่วยที่ท้องเสียมากเกินไป เพราะอาจเป็นการเพิ่มเส้นใยอาหารให้ผู้ป่วยมากขึ้น น้ำผลไม้ทุกชนิดควรงดเว้นโดยเฉพาะน้ำลูกพรุน เพราะจะทำให้ถ่ายท้องมากยิ่งขึ้น หากจะรับประทานน้ำผลไม้ควรเป็นน้ำที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์แล้ว และไม่แนะนำให้รับประทานในช่วงที่อาการท้องเสียยังไม่ทุเลา



ขอรับเอกสารเพิ่มเติมอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้