วันที่ 31-01-2012 | อ่าน : 91376
การอัลตราซาวน์ช่องท้อง
อัลตราซาวน์ คือ
การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงหรือ อัลตราซาวน์ (Ultrasound) ในการตรวจ โดยอาศัยหลักการดูดซับ และสะท้อนของคลื่นเสียงที่แตกต่างกัน ระหว่างอวัยวะแต่ละชนิด และระหว่างเนื้อเยื่อปกติกับเนื้อเยื่อผิดปกติ แล้วแปลงเป็นภาพแสดงออกมาทางหน้าจอแสดงภาพ คลื่นเสียงที่ใช้สำหรับการอัลตราซาวน์ อยู่ในช่วงความถี่สูง 1.5-15 MHz (ความถี่ที่หูคนเราได้ยินประมาน 20-20,000 Hz) โดยคลื่นเสียงจะถูกส่งออกจากหัวตรวจผ่านลงไปในตัวผู้ป่วย เมื่อกระทบกับรอยต่อ (interface) ระหว่างตัวกลาง 2 ชนิดที่มีความหนาแน่นต่างกัน จะเกิดการสะท้อนและการทะลุผ่านของเสียง
การตรวจวิธีนี้ใช้ได้ดีกับอวัยวะที่มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง เช่น ตับ ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก รังไข่ และต่อมลูกหมาก เป็นต้น และสามารถตรวจกับอวัยวะที่บรรจุของเหลวอยู่ภายในได้ เช่น หัวใจ ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ตรวจเด็กในครรภ์ เป็นต้น การอัลตราซาวน์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผู้ป่วย ปัจจุบันนอกจากการตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว อัลตราซาวน์ยังใช้เป็นเครื่องนำทางในการดูดเจาะ (percutaneous puncture) ทั้งเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้