การดูแลหลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่

วันที่ 17-01-2012 | อ่าน : 78904


 การดูแลหลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่



 
      ผลข้างเคียงของการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงการทำงานของอวัยวะและสุขภาพของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยอาจรู้สึกอึดอัดและเจ็บปวดแผล อาจต้องบรรเทาปวดด้วยยาประมาณ 2-3 วัน  ผลข้างเคียงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยอ่อนได้ มีเลือดออกในช่องท้อง เลือดอุดตันบริเวณขา และความเสียหายของ อวัยวะใกล้เคียงในระหว่างการผ่าตัด บางกรณีการเชื่อมต่อกันใหม่ระหว่างปลายของลำไส้อาจไม่สมบูรณ์และเกิดรอยรั่วซึ่งจะนำไปสู่การติดเชื้อได้ หลังการผ่าตัดเนื้อเยื่อแผลเป็นอาจพัฒนาเป็นพังผืด เรียกว่า adhesions ซึ่งในบางรายเป็นเหตุให้ลำไส้ติดอุดตันจนต้องผ่าตัดแก้ไข เป็นต้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทีมแพทย์จะคอยระวังป้องกันให้อยู่แล้ว
 
     นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนในระบบขับถ่าย อาทิ ท้องเสีย การขับถ่ายอุจจาระไม่เป็นเวลา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่หลังผ่าตัด ผู้ป่วยต้องฝึกการควบคุมการขับถ่ายที่ผิดไปจากเดิมของลำไส้ ต้องอาศัยเวลา ความช่วยเหลือและคำแนะนำจากแพทย์อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น เมื่อลำไส้ที่ตัดต่อใหม่ค่อยๆ คุ้นเคยกับหน้าที่ในด้านผลกระทบในระบบทางเดินอาหาร ช่วง 2 วันแรก หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ ระหว่างเวลานี้ผู้ป่วยจะถูกจำกัดอาหารปกติ และมีการจำกัดน้ำ เนื่องจากลำไส้ต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู ช่วงนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร จนเมื่อรับประทานอาหารทางปากได้ ก็ต้องค่อยๆ เริ่มจากอาหารเหลวไปสู่อาหารเนื้อสัมผัสหยาบ
     เกี่ยวกับสมรรถภาพทางเพศหลังการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ ถ้าเป็นการผ่าตัดลำไส้ตรงออกทั้งหมด และเปิดรูระบายอุจจาระทางหน้าท้อง (Abdomino-perineal resection) อาจมีผลต่อสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย โดยมีผลทำให้จำนวนอสุจิน้อยลงเพราะประสาทควบคุมการหลั่งถูกทำลาย ดังนั้น ในรายที่ต้องการมีบุตรอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน สำหรับในผู้หญิงอาจไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพทางเพศโดยตรง เพียงแต่หากมีพังผืด adhesions อาจเป็นสาเหตุให้รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ดังนั้น ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัดลำไส้ในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจกับภรรยา-สามี ถึงภาวะที่จะเกิดขึ้น เพื่อการมีชีวิตครอบครัวที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดลำไส้ในกรณีอื่นๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบ
 
     ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยการใช้กล้อง ซึ่งในรายที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธีนี้ ผู้ป่วยจะนอนโรงพยาบาลสั้นกว่ารายที่ผ่าตัดเปิดหน้าท้อง แต่มีผลแทรกซ้อนที่อาจพบได้กับท่อไตซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจเกิดแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือด และอาจพบไส้เลื่อนที่บริเวณแผลผ่าตัด ในกรณีที่มะเร็งลำไส้ใหญ่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง การผ่าตัดอาจต้องขยายไปยังอวัยวะเหล่านั้นด้วย เช่น กระเพาะอาหาร ตับ ไต ลำไส้เล็ก รังไข่ หรือกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ในรายที่มะเร็งลุกลามไปที่ตับศัลยแพทย์จะพิจารณาตัดตับบางส่วนออกไปด้วยเช่นกัน


รับข้อมูลเพิ่มเติมฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078 
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้