อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัด

วันที่ 13-01-2012 | อ่าน : 14835






อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัด
 
การให้โภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด ก็เพื่อจะส่งเสริมการทำงานและการรักษาตัวของอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด การช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันร่างกาย รวมถึงกระบวนการหายของแผล (Wound healing) ดีขึ้น ที่สำคัญที่สุด คือ ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัด ดังนั้น เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แพทย์อาจทำการประเมินภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวได้ง่ายอยู่แล้วจากตัวของโรคเอง 
 
ในภาวะผ่าตัด จริงอยู่ที่ผู้ควรได้รับอาหารโปรตีนเพิ่ม แต่ก็ควรรับประทานข้าวแป้งเป็นแหล่งพลังงานหลัก เพราะหากร่างกายได้รับพลังงานจากแหล่งคาร์โบไฮเดรตไม่สมดุล จะทำให้ตับทำงานหนักขึ้นเพราะต้องไปย่อยสลายและนำกรดอะมิโนจากโปรตีนมาใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกายแทนหมู่แป้ง ดังนั้น ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม เช่น สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการพลังงานวันละ 1500 Kcal ควรรับประทานข้าวมื้อละ 3 ทัพพี วันละ 3 มื้อ 
 
     ช่วงแรกของการผ่าตัดแพทย์อาจจะพิจารณาให้อาหารทางหลอดเลือดดำ (parenteral nutrition) ก่อนเพื่อรักษาพลังงานที่ร่างกายได้รับให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หลังจากนั้นไม่เกิน 7 วัน แพทย์อาจพิจารณาเริ่มให้ทานอาหารอ่อน หรือเหลวใส ในบางกรณีอาจต้องเสริมอาหารทางการแพทย์ (Medical food) ไปก่อน ส่วนผู้ป่วยที่การรับประทานอาหารปกติ การได้รับผลไม้จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีในธรรมชาติทำให้แผลหายสนิทเร็วขึ้น 
อาหารหมู่โปรตีน 
     ในคนปกติแนะนำให้รับประทานวันละ 0.8 g/kg/วัน แต่ในผู้ที่ผ่าตัดควรได้รับโปรตีนมากขึ้น ข้อกำหนดของการได้รับโปรตีนของผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวปกติ คือ 1.5 g/kg/วัน ส่วนผู้ที่อ้วนหรือน้ำหนักเกิน กำหนดโปรตีน 2 g/kg/วัน (ในผู้ป่วยอ้วนควรคำนวณความต้องการโปรตีนกับน้ำหนักตัวมาตรฐานมิใช่น้ำหนักตัวในขณะนั้น) ในกรณีของผู้ที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (graft-versus-host disease) ต้องกำหนดปริมาณโปรตีนมากถึง 2.5 g/kg ซึ่งเป็นกรณียกเว้นเท่านั้น เพราะโดยปกติจะไม่กำหนดโปรตีนเกินวันละ 2 g/kg เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีของเสียคั่งในร่างกาย และเพิ่มภาระการทำงานของตับและไตมากจนเกินไป ทำให้ร่างกายเสียสมดุลไนโตรเจนไป
 
 

ไขมัน 
      ควรจำกัดปริมาณไม่เกินวันละ 30% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ โดยหลีกเลี่ยงอาหารทอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ และหลีกเลี่ยงกรดไขมันอิ่มตัว
 
ผักและผลไม้
      ทานได้ตามปกติ ยกเว้นผู้ที่มีปัญหาในการย่อยอาจต้องจำกัดปริมาณใยอาหาร และผักที่มีกลิ่นฉุน เช่น คึ่นไช่ หัวหอม เป็นต้น เพราะผักดังกล่าวอาจก่อให้เกิดแก๊สในระบบขับถ่ายมากขึ้น ทำให้ไม่สบายท้อง แต่หากร่างกายปกติดีก็ไม่มีข้อบ่งชี้ว่าต้องงดอาหารกลุ่มดังกล่าวแต่อย่างใด
 
ในบางกรณีหากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้ครบถ้วนตามมื้ออาหารที่จัดให้ หรือจากการคำนวณพบว่าพลังงานที่ได้รับต่อวันต่ำเกินไป ควรต้องเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ ที่มีสูตรโปรตีนสูง  อาจจะพิจารณาให้วันละ 1-3 แก้วต่อวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังงานที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย เพราะอาหารทางการแพทย์ 1 แก้ว จะให้พลังงานและสารอาหารใกล้เคียงกับอาหาร 1 มื้อ
 
การผ่าตัดนั้นทำให้ร่างกายได้รับการบาดเจ็บ แต่ยังเป็นการรักษามะเร็งที่ได้ผลค่อนข้างดี ดังนั้น หากผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดดูแลตนเองและสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรับประทานอาหารให้ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยจนเกินไป ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากการผ่าตัด และลดอัตราการติดเชื้อแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้มากขึ้น
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

อาหารผู้ป่วยะมเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้