วันที่ 24-11-2011 | อ่าน : 14710
ข้อพึงระวังและการปฏิบัติตัวเมื่อรับเคมีบำบัดหรือฉายรังสี
เรื่องที่พึงระวังและการจัดการกับปฏิกิริยาที่ไม่สบายกาย หลังการบำบัดด้วยการใช้ยาคีโมและรังสีบำบัด ได้แก่
1. ปฏิกิริยาการรักษาที่เกิดการคันตามผิวหนังและมีผื่นแดง ผิวลอกหลุด เจ็บปวดหรือมีบางส่วนของผิวหนังเป็นรอยไหม้ดำ ต้องระวังไม่เอามือไปเกา ผิวหนังลอกหลุดเนื่องจากความแห้งกร้านก็ไม่ควรใช้มือไปลอก ควรรักษาความแห้งของผิวหนัง ให้ทายาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรทาถูด้วยยาชนิดอื่น ๆ
2. ไม่ควรลบเครื่องหมายกำกับออกและไม่ควรเขียนภาพเพิ่มเติมขึ้นไป
3. บริเวณที่รับการบำบัดด้วยรังสี ต้องไม่ถูกแสงแดด และเมื่อต้องมีลมเย็นพัดถูกบริเวณบำบัด ควรคลุมด้วยผ้า
4. เลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้านุ่ม หลีกเลี่ยงการเสียดสีของผิวหนังในบริเวณที่ได้รับการบำบัด
5. ดื่มน้ำให้มากๆ และปัสสาวะให้มากๆ ควรระมัดระวังในเรื่องสุขอนามัยเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อของท่อปัสสาวะ
6. หากมีแผลในช่องปาก ควรถอดฟันปลอมที่สวมถอดได้ออก ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่ม ใช้นิ้วชี้นวดเหงือก หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ทานอาหารที่มีรสเผ็ด หมั่นใช้น้ำอุ่นหรือน้ำเกลืออุ่นบ้วนปาก หรือบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากตามที่แพทย์สั่ง
7. อาการปากแห้งเกิดจากการที่มีน้ำลายหลั่งออกมาน้อยลง ให้พกกระติกน้ำติดตัวเพื่อใช้สำหรับดื่มหรือบ้วนปาก บางครั้งแพทย์อาจจะสั่งให้ใช้น้ำลายเทียมสามารถผสมในอัตราส่วน 1:1 กับน้ำอุ่นเพื่อนำมาใช้ โดยอมไว้ในปากเป็นเวลาหลาย ๆ นาที ก่อนที่จะกลืนลงไป โดยให้น้ำลายเทียมเหล่านี้ ติดอยู่ในช่องปากลำคอและเยื่อหุ้มของทางเดินอาหาร จะได้ผลดีมาก
8. หากมีการฉายแสงรังสีบริเวณช่องปากหรือโพรงจมูก อาจเกิดอาการกรามขบแน่นทำให้อ้าปากได้ลำบาก ต้องรีบเริ่มฝึกการออกกำลังอ้าปากทันที ให้ขยับกระดูกเชิงกรามส่วนล่างขึ้นลงและขยับซ้ายขวา โดยให้อ้าปากกว้างราว 3-4 นิ้ว วันละหลาย ๆ ครั้ง และครั้งละหลาย ๆ รอบ โดยใช้มือหรืออุปกรณ์ช่วยในการอ้าปาก
9. หากการบำบัดมีการฉายแสงรังสีตรงบริเวณของช่องปาก ซึ่งอาจจะกระทบทำให้ความรู้สึกของประสาทรับรู้รสชาติบนลิ้นเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้สูญเสียความรู้รสในอาหารยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีอารมณ์และกำลังใจที่ตกต่ำ ในเวลาเช่นนี้ต้องจัดเตรียมอาหารที่มีรสชาติดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ควรให้กำลังใจผู้ป่วยอดทนรอการบำบัดให้ผ่านพ้นไป สถานการณ์ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ ส่วนระดับและความเร็วในการฟื้นฟูจะขึ้นอยู่กับปริมาณความแรงของรังสีที่ฉายโดยตรง ในสภาวะเช่นนี้การสนับสนุนจากญาติพี่น้องที่เป็นความรักความอดทนเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเท่านั้น ผู้ป่วยจึงจะสามารถผ่านพ้นจุดวิกฤตินี้ได้
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้