การป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้

วันที่ 22-11-2011 | อ่าน : 8805


 การป้องกันและลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้
 
         แม้จะยังไม่มีวิธีขจัดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 100% แต่ก็มีวิธีปฏิบัติตัวและป้องกันหรือลดความเสี่ยงลงได้ ดังนี้
   • บริโภคอาหารที่อุดมด้วยผักและผลไม้  เพื่อให้มีเส้นใยหรือกากอาหารมากขึ้น  อุจจาระจะมีขนาดโตขึ้นจนขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่คั่งค้างในลำไส้ใหญ่นานเกินไป  จนปล่อยสารเคมีที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของเซลล์ลำไส้
 
   • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะได้ทั้งการลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังช่วยลดความอ้วน
 
   • กรณีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อช่วยพิจารณาความเสี่ยงรวมถึงการเข้ารับการตรวจดูลำไส้ใหญ่ปีละครั้งด้วยการส่องกล้องเพื่อตรวจคัดว่ามีมะเร็งหรือเนื้องอก โพลิปหรือไม่ เพื่อจะได้วินิจฉัยและทำการรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่เนิ่นๆนั่นเอง  
   • สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เอง  มักมีอาการของโรคคือ แน่นอืด จึงควรเลือกรับประทานพืชผักจำพวกที่ช่วยขับลมร่วมด้วย เช่น ใบแมงลัก ใบกระเพรา  ใบโหระพา รวมถึงผักผลไม้ต่างๆ ให้มากเพื่อให้มีกากใย ช่วยในการระบาย  แต่ไม่แนะนำให้ทานข้าวเหนียวและเนื้อสัตว์ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย  หรือเนื้อหมู ตลอดจนเนื้อติดมันทุกชนิด
 
   • ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่บางราย  อาจมีอาการถ่ายอุจจาระไม่ได้จริงๆ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับยาช่วยถ่ายอุจจาระ ซึ่งยาถ่ายจะมีอยู่ 2 แบบ  แต่ละแบบจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป คือ
 
1. ยาถ่ายประเภทที่ทำให้ลำไส้เก็บความชื้นได้ดีขึ้น และกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวด้วย  ทำให้อุจจาระนิ่ม  เวลาขับถ่ายจึงไม่ปวดและขับถ่ายสะดวกขึ้น
 
2. ยาถ่ายประเภทกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว  ดังนั้นเวลาถ่ายจะทำให้รู้สึกปวด อุจจาระยังแข็ง
 
     อีกวิธีที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยถ่ายได้ ก็คือการสวน  ซึ่งมีข้อดีคือเวลาถ่าย ผู้ป่วยจะไม่ต้องเบ่ง    เพราะน้ำยาสวนจะเข้าไปทำให้อุจจาระเหลว ถ่ายออกมาได้เลย
• หมั่นออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหว ทำงานมีประสิทธิภาพ
• เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน
• เลือกรับประทานอาหารที่ดี  มีเส้นใยมาก หลีกเลี่ยงอาหารบูดเน่าหรือย่อยยาก ไขมันเยอะ
 
      นอกจากนี้มีรายงานการศึกษาสารเคมี หรือยา หลายชนิด เช่น วิตามินเอ, วิตามินอี, วิตามินดี, วิตามินซี, กรดโฟลิก, แคลเซียม, ซีลีเนียม, ยาแอสไพริน, ยาแก้ปวดกลุ่มค็อกทู ( cox-2 inhibitor), ยาลดไขมันกลุ่มสแตติน (Statin), และฮอร์โมนบางชนิด พบว่าอาจมีผลในการป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน จึงยังไม่เป็นข้อแนะนำให้ใช้สารดังกล่าวเพื่อการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประชากรทั่ว ๆ ไป 

 
 
 

 
รับข้อมูลเพิ่มเติมฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078
 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้