- อาบน้ำได้ตามปกติ ทั้งขณะใส่ถุงและถอดถุงออก โดยวิธีการตักอาบ ใช้ฝักบัว หรือลงอ่างอาบน้ำ
- การแต่งกายเป็นไปตามปกติ สวมเสื้อผ้าที่หลวมเล็กน้อย การสอดถุงรองรับของเสียไว้ด้านในของกางเกงชั้นใน จะช่วยให้เดินและเคลื่อนไหวสะดวกมากขึ้น
- การรับประทานอาหารในระยะ 2 เดือนแรกหลังผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ถั่วและผลไม้แห้ง หลังจากนั้นเริ่มรับประทานได้ทีละน้อยเคี้ยวให้ละเอียด ไม่มีข้อจำกัดใดเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ยกเว้นอาหารประเภทที่อาจมีผลกระทบต่อการขับถ่าย ได้แก่
อาหารที่มีเส้นใยสูง จะทำให้อุจจาระเป็นก้อนมากยิ่งขึ้น เช่น กล้วย ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง ถั่ว เนยแข็ง ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อป้องกันท้องผูกและลำไส้อุดตัน
อาหารที่อาจทำให้ท้องเสีย ได้แก่ อาหารรสเผ็ดจัด ผลไม้ดิบ ถั่วสีเขียว บร็อคโคลี่ ผักโขม น้ำผลไม้ เบียร์ ช็อกโกแลต เป็นต้น
อาหารที่ทำให้อุจจาระมีกลิ่นรุนแรง ได้แก่ อาหารทะเล โดยเฉพาะ กุ้ง ไข่ หน่อไม้ฝรั่ง หัวหอม กระเทียม เครื่องเทศ อาหารตระกูลถั่ว กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ สะตอ ชะอม ลูกเนียง เห็ดหอม ทุเรียน เป็นต้น
อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส ได้แก่ อาหารตระกูลถั่ว เห็ด เบียร์ น้ำอัดลม กะหล่ำปลี แตงกวา หัวหอม ผักโขม ข้าวโพด บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก ถั่วงอกดิบ ยีสต์และนม เป็นต้น
อาหารที่ช่วยลดแก๊สและกลิ่น ได้แก่ โยเกิร์ต
อาหารที่ช่วยระบายกากอาหาร ได้แก่ น้ำผลไม้คั้น น้ำลูกพรุน น้ำส้ม มะละกอสุก และควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- การเดินทาง ควรเตรียมอุปกรณ์สำรองไป 2-3 ชุด ได้แก่ กระดาษชำระ น้ำสะอาด อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่าย และยา
- การเล่นกีฬา ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การวิ่ง หรือเดินเพื่อสุขภาพ และเล่นกีฬาได้ตามปกติแต่ไม่หักโหม
- การมีเพศสัมพันธ์ ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ ผู้หญิงที่มีช่องเปิดลำไส้สามารถตั้งครรภ์ได้ เว้นแต่แพทย์แนะนำให้ชะลอการมีบุตรไว้ก่อน
รับข้อมูลเพิ่มเติมฟรี
คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง