การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเต้านม

วันที่ 14-10-2010 | อ่าน : 80836


การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเต้านม



 

       เนื่องจากปัญหาที่พบบ่อยหลังจากการผ่าตัดเต้านม  คือ  การสูญเสียการทำงานของหัวไหล่  ทำให้หัวไหล่ติดหรืออ่อนแรง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว การฟื้นฟูสภาพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

การป้องกันหรือแก้ไขภาวะไหล่ติดทำได้โดย

วันที่ 1   หลังผ่าตัด
 กางแขนออกไประดับเดียวกับหัวไหล่

วันที่ 2 หลังผ่าตัด
 เริ่มใช้แขนข้างที่ผ่าตัดในงานเบาๆ  เช่น  กินข้าว  ล้างหน้า  แปรงฟัน

วันที่ 3  หลังผ่าตัด
 บริหารไหล่และทรวงอกมากขึ้นตามลำดับ

ข้อควรปฏิบัติ
       อย่ากลัวหรือหลีกเลี่ยงการใช้แขนและหัวไหล่ข้างที่ผ่าตัด แต่ควรใช้งานให้เหมาะสมใกล้เคียงหรือเหมือนเดิมมากที่สุด  ตามระยะเวลาที่เหมาะสมดังนี้

อาทิตย์แรก (ระยะที่ยังอยู่ในโรงพยาบาล)
        พยายามใช้แขนข้างที่ผ่าตัดในงานเบาๆ  เช่น  ทำกิจวัตรประจำวัน  ล้างหน้า  ดื่มน้ำ  แต่งหน้า  หรือถ้าจะยกของหนักไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 1 กิโลกรัม

อาทิตย์ที่ 2 ถึง 1 เดือน
       ใช้งานให้มากขึ้น  เช่น  ทำงานบ้าน  ทำอาหาร  ล้างจาน  ปัดฝุ่น  เป็นต้น

เดือนที่ 2 เป็นต้นไป
       เริ่มทำงานได้ตามปกติ  เช่น  ขับรถ  ทำงานประจำได้  แต่ไม่ควรยกของหนักและยกเป็นเวลานาน

ข้อควรระวัง
1. หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บของแขนหรือมือข้างที่ผ่าตัด
  • ระวังบาดเจ็บในการตัดเล็บ
  • หลีกเลี่ยงการฉีดยา  เจาะเลือดโดยไม่จำเป็น
  • สวมถุงมือเวลาทำงานฝีมือและงานสวน

2. หลีกเลี่ยงการถูกแรงกดรีด  หรือบีบรัด  เช่น
  • ไม่ใส่เสื้อชั้นในรัดหัวไหล่มาก
  • นาฬิกา  สร้อยข้อมือ  หรือแขนเสื้อต้องไม่แน่น
  • ไม่วัดความดันโลหิตแขนข้างนั้น
  • ไม่ยกของหนักและนานเกินไป

3. หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแผลพุพอง  เช่น
  • ใช้ถุงมือเวลาใช้เตารีด
  • ไม่ถือของร้อน
  • หลีกเลี่ยงแผลพุพองจากการตากแดด  หรืออาบแดด

4. ปรึกษาแพทย์ทันที  เมื่อ
  • เกิดอาการบวม  ปวด  และแดง
  • เกิดแผลพุพองติดเชื้อ

5. มาตรวจตามแพทย์นัดสม่ำเสมอ

6. การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคม

        ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมอาจมีความรู้สึกสูญเสียภาพลักษณ์และขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม  ผู้ป่วยอาจใช้เต้านมเทียมในขณะใส่เสื้อยกทรง จะช่วยทำให้เพิ่มความมั่นใจและสามารถเข้าสู่สังคมได้ตามปกติส่วนปัญหาอื่นที่พบคือ  อาการชาบริเวณผ่าตัด  หรือท้องแขนด้านใน  ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการระคายหรือเบียดรัด  ในบางรายอาจมีภาวะหลอนว่ายังมีเต้านมอยู่ในความรู้สึก  ซึ่งบางครั้งอาจมีอาการปวดร่วมด้วย  อาจลดอาการโดยการนวดเบาๆ  ทายา  หรือเคาะเบาๆ


รับข้อมูลเพิ่มเติมฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078

 

หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง
ความรู้มะเร็ง

ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011

Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้