วันที่ 15-07-2010 | อ่าน : 17463
ชาเขียวช่วยป้องกันโรคมะเร็งจริงหรือ?
เชื่อว่าโรคมะเร็งนั้นมีสาเหตุของการเกิดมากมาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่เป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งคือ การที่อนุมูลอิสระไปจับกับ DNA ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุให้เซลล์มีการเจริญเติบโตแบ่งตัวอย่างไม่สิ้นสุด หรือการได้รับสารบางอย่างและ cell signaling ที่เป็นปัจจัยให้เซลล์เจริญเติบโตและแบ่งตัวได้อย่างไม่หยุดยั้ง พบว่าในอาหารที่บริโภคประจำวันมีสารพวก nitrosamine ที่มาจากบุหรี่และยาสูบ ซึ่งสามารถส่งผลต่อ DNA ให้เกิดความเสียหายได้ แต่เราพบข้อมูลในการทดลอง แบบ in vitro ว่า สาร Phenolic จากชาเขียวสามารถยับยั้งการเกิด nitrosamine ได้ นอกจากนี้สาร Polyphenols ในชานั้นสามารถยับยั้งการสร้าง heterocyclic amines ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรุงประกอบอาหารประเภทเนื้อสัตว์ซึ่งสามารถเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็ง เต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับอ่อนได้ และมีการรายงานอีกว่าสารจากชาเขียวสามารถยับยั้ง cytochrome P450 (CYP 1A1) ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงสารก่อมะเร็งในรูปที่ยังทำงานไม่ได้ ให้อยู่ในรูปที่สามารถทำงานเป็นสารก่อมะเร็งในร่างกายได้
โดยในชาเขียวนั้นจะประกอบไปด้วยสาร catechin ได้แก่พวก Catechin(C), Galic Acid, Epicatechin(EC), Gallocatechingallate(GCG), Epicatechingallate Gallocatchin(GC), Epigallocatechin (EGC) และ Epigallocatechingallate (EGCG) ซึ่งในสารประกอบเหล่านี้ล้วนมีคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง EGCG ซึ่งจะมีงานวิจัยที่รายงานถึงผลดีต่อสุขภาพ
นอกจากงานวิจัยที่กล่าวมานี้ยังมีงานวิจัยที่เป็นการทดลองในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองหลายงานวิจัยที่พบว่า สารที่มีในชา โดยเฉพาะ EGCG มีผลต่อการยับยั้งการเกิดมะเร็งในทั้งช่วงระยะของการเจริญของเซลล์มะเร็ง และระยะการเกิดเซลล์มะเร็งในระยะแรก ๆ แต่งานวิจัยในมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องมะเร็งนั้นยังมีไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยในสัตว์ทดลองสามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยในมนุษย์ต่อไปได้ โดยเริ่มแรกที่เชื่อว่าชามีผลต่อการเกิดมะเร็งมาจากงานวิจัยที่ศึกษาทางระบาดวิทยาของประชากรญี่ปุ่นพบว่าชาวญี่ปุ่นที่มีอายุมากขึ้น แต่กลับมีอัตราการเกิดมะเร็งที่น้อยกว่าชนชาติอื่นๆ ซึ่งพบว่าชาวญี่ปุ่นมีการบริโภคชาเขียวในปริมาณที่มาก โดยจะเห็นผลในการป้องกันมะเร็งชัดเจนเมื่อดื่มเกินวันละ 10 แก้ว แต่ในชาเขียวยังมีสารอันก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ คือสารคาเฟอีน ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ใจสั่นและนอนไม่หลับ หากต้องดื่มในปริมาณมาก ร่างกายย่อมได้รับมากเกินไปและทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ง่าย แต่ปัจจัยอื่นๆ ทางด้านพฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยากและมีผลต่อการเกิดมะเร็งทั้งสิ้น ดังนั้นการสรุปจากงานวิจัยชิ้นเดียวนี้จึงยังไม่เพียงพอจำเป็นต้องอาศัยงานวิจัยอื่นๆ สนับสนุนอีก
อีกงานวิจัยหนึ่งพบว่าในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งลำไส้นั้นจะพบแบคทีเรียพวก Clostridia มากและ Bifidobacteria น้อย ซึ่งพบว่าสาร polyphenols ในชานั้นจะยับยั้งการเจริญเติบโตของ clostridia และส่งเสริมการเจริญเติบโตของ bifidobacteria ซึ่งทำให้สภาวะลำไส้ค่อนข้างที่จะเป็นกรด ซึ่งเป็นผลดีต่อการลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ นอกจากนี้ยังพบว่าชาสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Helocobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและเป็นปัจจัยเสริมในการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย จึงพบว่ากลไกการป้องกันการเกิดมะเร็งของชาน่าจะมาจาก การที่ตัวชาเองมีสาร ต้านอนุมูลอิสระ และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งได้
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้เป็นโรคมะเร็งอยู่ คงต้องมีการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือทางเลือกอื่นสำหรับช่วยส่งเสริมการรักษา หรือบำรุง ฟื้นฟูสุขภาพ ไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์จากชาเขียวเพียงอย่างเดียวเพื่อรักษาโรค และการใช้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
รับข้อมูลเพิ่มเติมได้ฟรี คลิกที่นี่ หรือโทร 02-6640078
หากมีปัญหาสุขภาพผู้ป่วยมะเร็ง เราคืออีกหนึ่งทางออก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้อีกครั้ง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โปรดคลิก inbox Facebook ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย 213/5 อาคารอโศกทาวเวอร์ ชั้น 6 ถ.สุขุมวิท 21(อโศก) แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 1011
Copyright © 2021 www.siamca.com ขอสงวนสิทธิ์ ในการนำรูปภาพ หรือ ข้อความในเว็บไซต์ ไปเผยแพร่ หรือ ทำซ้ำ จะต้องได้รับการอนุญาตก่อนจึงจะกระทำได้