มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบได้มากในประเทศไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในชาย อันดับ 4 ในหญิง และเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอายุระหว่าง 35-75 ปี และมะเร็งปอดนั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
ปัจจุบันนวัตกรรมในการรักษามะเร็งปอดก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ อาทิ เทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ ที่ผ่าตัดปอดออกบางส่วน ทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตได้ปกติหลังจากผ่าตัดแล้ว สำหรับคนไข้ที่มะเร็งยังไม่แพร่กระจาย การผ่าตัดจะทำให้มีโอกาสหายขาดได้มากขึ้น ยังมีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า VATS (Video Assisted Thoracic Surgery) มาใช้ในการผ่าตัด เป็นการนำเทคโนโลยีวีดีโอมาช่วยผ่าตัดผ่านกล้อง โดยการเจาะรูที่ทรวงอกประมาณ 1 ซ.ม. เพื่อสอดกล้องขนาดเล็กและอุปกรณ์เข้าไปผ่าตัดในช่องอก โดยไม่ต้องเปิดทรวงอกด้วยแผลขนาดใหญ่
การฉายรังสีก็มีทั้งเทคนิคแบบ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งเพิ่มความแม่นยำในการฉายรังสีมากขึ้น
ยาเคมีบำบัดก็มีการคิดค้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจงต่อตำแหน่งของก้อนมะเร็ง และพัฒนายาจนผลข้างเคียงลดน้อยลงจนถึงเกือบจะไม่พบผลข้างเคียงภายหลังการใช้ ที่เรียกว่า Targeted Therapy โดยยาไปออกฤทธิ์ที่ตำแหน่งของก้อนมะเร็งอย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น
การให้ความรู้ด้านมะเร็งปอดแก่ผู้ป่วยที่กำลังต่อสู้อยู่กับมะเร็งชนิดนี้ รวมถึงกับประชาชนทั่วไป จะเป็นผลดีต่อการต่อต้านมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพต่อไป
สถานที่
ตึก ภปร.ชั้น18 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กิจกรรม
• ปรึกษาปัญหาสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
• กิจกรรมบรรยาย “รู้ได้อย่างไรว่าเป็นมะเร็งปอด”
• กิจกรรมบรรยาย “ความก้าวหน้าในการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งปอด”
• กิจกรรมบรรยาย “โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอด”
• กิจกรรมบรรยาย “นวัตกรรมใหม่ในการรักษาโรคมะเร็งปอด”
• กิจกรรมบรรยาย “การรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอดแบบประคับประคอง”
• เสวนา กรณีศึกษาของผู้ป่วยมะเร็งปอด
วิทยากรและทีมงาน
• รศ.นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์
• รศ.นพ. กิตติชัย เหลืองทวีบุญ
• รศ.ดร.ภญ. จงจิตร อังคทะวานิช
• รศ.นพ. นรินทร์ วรวุฒิ
• ดร.นพ. มโน เมตตานันโท เลาหวณิช
• ทีมงานพยาบาลศูนย์มะเร็ง รพ.จุฬาลงกรณ์ , ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้เข้าร่วม
• ผู้ป่วยมะเร็งมะเร็งปอดและญาติ
• ผู้สนใจสุขภาพทั่วไป
ผู้สนับสนุน
• บริษัท เฟยดา จำกัด
• Baxter Health Care (Thailand) C., Ltd.
|